เขยตาย

ชื่อสมุนไพร

เขยตาย

ชื่ออื่นๆ

เขยตายแม่ยายชักปรก ลูกเขยตาย ต้นชมชื่น ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ หญ้ายาง น้ำเข้า โรคน้ำเข้า (ใต้) กะรอกน้ำข้าว ละรอก กะรอกน้ำ(ชลบุรี) ส้มชื่น ศรีชมชื่น น้ำข้าวต้น พิษนาคราช พุทธรักษา(สุโขทัย) ประยงค์ใหญ่ (กรุงเทพฯ) มันหมู (ประจวบคีรีขันธ์)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Glycosmis pentaphylla (Retz.) DC.

ชื่อพ้อง

Bursera nitida Fern.-Vill., Chionotria monogyna Walp., C. rigida Jack, Glycosmis arborea (Roxb.) DC., G. chylocarpa Wight & Arn., G. madagascariensis Corrêa ex Risso, G. quinquefolia Griff. , G. retzii M.Roem., G. rigida (Jack) Merr., Limonia arborea Roxb., L. pentaphylla Retz., Myxospermum chylocarpum

ชื่อวงศ์

Rutaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             ไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 3-6 เมตร เปลือกลำต้นเรียบสีน้ำตาลเทา ผิวลำต้นตกกระเป็นวงสีขาว แตกกิ่งก้านต่ำตั้งแต่โคนต้น ใบออกดกทึบ ใบเป็นใบเดี่ยว รูปหอกแกมวงรี ออกตรงข้าม หรือกึ่งตรงข้าม กว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ปลายใบแหลมถึงกลม โคนสอบเรียว ใบด้านบนๆจะมีสีแดงที่ฐาน ขอบใบเรียบหรือมีรอยจักตื้น แผ่นใบเรียบ ผิวใบทั้งสองด้านมีจุดต่อม ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ลำต้นเป็นเหลี่ยม ดอกช่อเชิงลดแยกแขนง ยาว 10-30 เซนติเมตร ออกดกทึบ ดอกเล็กสีขาว ดอกย่อยเป็นกระจุกละ 12-15 ดอก ออกตามซอกใบหรือที่ปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว ขนาด 4-5 x 2-2.5 มิลลิเมตร ผิวมีต่อมเป็นจุด รูปไข่กลับ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยาว 1-1.5 มิลลิเมตร รูปแหลมกึ่งรูปไข่ มีขนอ่อนที่ส่วนปลาย มีใบประดับหุ้ม โดยชั้นบนมี 5 กลีบใหญ่ และมีส่วนย่อยเล็กๆหลายอัน มีต่อมซึ่งปลายเป็นร่อง ก้านชูดอกสั้นมาก เกสรตัวเมียเรียงเป็นวง ตรงกลางแกนดอกมีเกสรตัวผู้เป็นแท่ง รังไข่ขนาดกว้าง 2-2.5 มิลลิเมตร รูปไข่  เกสรเพศผู้ 8-10 อัน ก้านชูอับเรณูยาว 2-3 มิลลิเมตร ผลสดรูปทรงกลมขนาดเล็ก กว้าง 1-1.2 เซนติเมตร ยาว 1-1.8 เซนติเมตร ผิวเรียบ สีเขียวทึบ เมื่อสุกเป็นสีชมพูใส ฉ่ำน้ำ มีรสหวาน มีเมล็ดเดียว ลักษณะกลม เป็นลาย พบตามป่าโปร่งทั่วไป ออกดอกราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน  ติดผลราวเดือนมีนาคม

 

ลักษณะวิสัย

 

ลำต้น

 

ดอก และ ใบ

 

ดอก

 

ดอก

 

ผล

 

ผล

 


สรรพคุณ    
               ตำรายาไทย ราก รสเมาขื่นปร่า กระทุ้งพิษ แก้พิษฝีภายในและภายนอก ขับน้ำนม ฝนน้ำกินและทาแก้พิษงู แก้พิษแมลงกัดต่อย ทาแผลที่อักเสบ แก้ไข้กาฬ แก้โรคผิวหนังพุพอง แก้ไข้รากสาด เกลื่อนฝีให้ยุบ แก้ฝีที่นม ตัดรากฝีที่นม ยับยั้งเชื้อไวรัสบางชนิด เปลือกต้น รสเมาร้อน แก้ฝีภายนอกและภายใน กระทุ้งพิษ แก้พิษงู ขับน้ำนม แก้พิษต่างๆ แก้พิษไข้ เนื้อไม้ กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายนอกและภายใน แก้พิษงู ขับน้ำนม ดอกและผล รสเมาร้อน ทารักษาหิด ไม่ระบุส่วนที่ใช้ กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายนอกและภายใน แก้พิษงู ขับน้ำนม
              ประเทศบังคลาเทศใช้ น้ำคั้นจากใบผสมน้ำตาล กินตอนท้องว่างเพื่อถ่ายพยาธิตัวกลม แก้ไข้ แก้โรคตับ ใบบดผสมกับขิง รักษาผิวหนังอักเสบ ตุ่มพุพอง หรือคันแสบ ราก ใช้ลดไข้


องค์ประกอบทางเคมี
             ใบ พบสารอัลคาลอยด์ glycosine, arborine, glycosminine, arborinine, glycosamine, glycorine, glycosmicine , gamma-fagarine  สารกลุ่มไตรเทอร์ปีน เช่น arbinol, isoarbinol, arborinone สารสเตียรอยด์ stigmasterol, β-sitosterol  ราก พบสารอัลคาลอย์ carbazole alkaloids ได้แก่ glycozolicine, 3-formylcarbazole, glycosinine, glycozoline, glycozolidine, skimmianine, gamma-fagarine,  dictamine ลำต้น พบสารอัลคาลอยด์  arborinine เป็นหลัก และอัลคาลอยด์อื่นๆ ดอก พบสารอัลคาลอยด์ arborine, arbornine, skimmianine, glycorine, glycophymine, glycophymoline, glycosmicine, glycomide

 

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : www.thaiherbarium.com


Copyright © 2010 phargarden.com All rights reserved.

Appsthailand Hosting