อรคนธ์

ชื่อสมุนไพร

อรคนธ์

ชื่ออื่นๆ

รสสุคนธ์แดง อรคนธ์ (กรุงเทพมหานคร), ย่านปด (ภาคใต้), เครือปด (ชุมพร), ย่านเปล้า (ตรัง), ปดลื่น (ยะลา ปัตตานี), ย่านปด (นครศรีธรรมราช)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Tetracera indica (Christm. & Panz.) Merr.

ชื่อพ้อง

ชื่อวงศ์

Dilleniaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             ไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง ยาวได้ถึง 10 เมตร เถาสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีถึงรูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 6-10 เซนติเมตร ปลายใบมนถึงแหลม โคนใบแหลม ขอบใบจักเป็นซี่ห่างๆ แผ่นใบเรียบ มีขนตามเส้นใบด้านล่าง ก้านใบสั้นสีแดง ยาว 0.5-1 เซนติเมตร ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกขนาด 2.5-3 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 4 กลีบ สีเขียวแกมแดง  กว้าง 7-9 มิลลิเมตร ยาว 8-10 มิลลิเมตร ไม่มีขน กลีบดอก 4 กลีบ รูปไข่กลับ กว้าง 6-8 มิลลิเมตร ยาว 12-15 มิลลิเมตร มีกลิ่นหอม กลีบดอกสีขาวอมชมพู โรยง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก ปลายก้านชูอับเรณูสีแดง ส่วนโคนก้านสีขาว รังไข่มี 3-4 คาร์เพล ด้านหลังมีขนแข็งประปราย ผลแบบแคปซูลแห้งแตกแนวเดียว คล้ายทรงกลม กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ปลายผลมีจะงอยแหลมยาว 2-6 มิลลิเมตร ผลมักอยู่รวมกันประมาณ 3 ผล ผลมีขนาด 0.8 เซนติเมตร สีส้มถึงสีแดง เมล็ด รูปไข่สีดำ มีสองเมล็ดหรือมากกว่า  กว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงสด ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ที่ฐานเป็นชายครุย พบตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึง 600 เมตร

 

ลักษณะวิสัย

 

 

ลำต้น

 

 

ใบ

 

 

ดอกตูม

 

 

ดอก

 

 

ผล

 

 

ดอก


สรรพคุณ    
              ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ ลำต้นหรือราก ผสมรากส้มกุ้ง เหง้าสับปะรด ลำต้นไผ่ป่า ลำต้นไผ่ตง งวงตาล เปลือกต้นสะแกแสง ลำต้นหรือรากเถาคันขาว ผลมะพร้าว ลำต้นรักดำ ลำต้นก้อม ลำต้นโพ หญ้างวงช้างทั้งต้น รากกะตังใบ เปลือกต้นมะม่วง ลำต้นหนามพรม รากลำเจียก ลำต้นอ้อยแดง ลำต้นเครือพลูช้าง เหง้ายาหัว และเปลือกต้นกัดลิ้น ต้มน้ำดื่ม แก้อาการบวม แก้ฝี
              ยาพื้นบ้านภาคใต้ ใช้ ราก ต้มน้ำดื่มขับปัสสาวะ
              ตำรายาไทย ใช้ ดอก เข้ายาหอมบำรุงหัวใจ แก้ลม มักใช้คู่กับรสสุคนธ์ขาว ต้น นำมาต้มน้ำทั้งต้น น้ำต้มกินแก้อาการตกเลือดภายในปอด และใช้อมกลั้วคอแก้แผลในปาก ใบ ราก ตำเป็นยาพอกผิวหนัง แก้ผื่นคัน
             ประเทศอินเดีย ไม่ระบุส่วนที่ใช้ ใช้เป็นยาภายใน รักษาเลือดออกในปอด ใช้เป็นยาภายนอก บ้วนปาก รักษาแผลร้อนในปาก  ยอดอ่อน เป็นยาพอกรักษางูกัด ผล แก้ไข้หวัด ใบ ใช้แทนกระดาษทราย ลำต้น ใช้ทำเชือก พืชนี้ในอินเดียใช้เบื่อปลา

 

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง  : www.thaiherbarium.com


Copyright © 2010 phargarden.com All rights reserved.

Appsthailand Hosting